บริษัทโลจิสติกส์
Lifestyle

รู้หรือไม่ว่า บริษัทโลจิสติกส์ ในประเทศไทย มีประเภทไหนบ้าง

โลจิสติกส์ (Logistic) เป็นระบบการขนส่งชนิดหนึ่ง โดยจะให้บริการในการขนส่งสินค้า, ข้อมูล รวมไปจนถึงเรื่องของการขนส่งทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งเป็นการส่งจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค แน่นอนว่าในประเทศไทยของเราก็จะต้องมีระบบขนส่งโลจิสติกส์อยู่ด้วย แล้วรู้หรือไม่ว่าบริษัทโลจิสติกส์ในประเทศไทยมีรูปแบบไหนบ้าง ในบทความนี้จะมาบอกให้ได้รู้กัน

5 ประเภทบริษัทโลจิสติกส์ ที่มีให้บริการอยู่ในประเทศไทย

ปัจจุบันนี้บริษัทโลจิสติกส์มีให้บริการหลากหลายเจ้า หลากหลายประเภทมากขึ้น เนื่องจากว่าธุรกิจนี้ได้กลายเป็นธุรกิจในกระแสหลักของประเทศไปแล้ว ซึ่งประเภทบริการโลจิสติกส์จากบริษัทต่าง ๆ ในประเทศก็มี 5 ประเภทดังต่อไปนี้

1. บริษัทที่ให้บริการการขนส่งสินค้า ทั้งภายใน และ ส่งออกนอกประเทศ (Freight Transportation and Forwarding)

การขนส่งสินค้า เป็นธุรกิจแบบ Freight Forwarding ที่ถือว่าได้รับความนิยมมาก ๆ จะให้บริการในการนำเข้า และส่งออก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ทำให้ไม่ต้องเวลาเดินเรื่องเอกสารการนำเข้า – ส่งออกเอง ซึ่งมีบริการทั้งแบบการขนส่งทางถนน, ทะเล, รถไฟ และอากาศ

2. บริษัทที่ให้บริการการจัดเก็บ / บริหารคลังสินค้า (Fulfillment / Warehousing and Packing)

บริษัทที่ให้บริการการจัดเก็บ / บริหารคลังสินค้า จะให้บริการในส่วนของคลังสินค้า เพื่อให้พร้อมสำหรับการจัดส่งได้อย่างสะดวกสบาย โดยจะเป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ขายสินค้าออนไลน์หรือธุรกิจ E-commerce นอกจากนั้นยังรวมไปถึงบริการแพ็คสินค้าด้วย ทั้งนี้สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานได้ 4 ขั้นตอน คือ การเก็บ (Store), แพ็ค (Packing), ส่ง (Shipping) และการทำสถิติ & ระบบ (Statistic)

3. บริษัทที่ให้บริการการให้บริการด้านพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานโลจิสติกส์ (Non-Asset Based Logistics Service)

บริษัทนี้จะให้บริการครอบคลุมการให้บริการไปถึงเรื่องของงานพิธีการศุลกากรหรือสรรพากร งานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการนำเข้าและส่งออก เพื่อที่จะช่วยทำให้สามารถส่งสินค้าได้อย่างถูกต้อง ราบรื่น และเป็นไปตามข้อกำหนดการผ่านด่านศุลกากรพรมแดนของประเทศด้วย

4. บริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ งานที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ (Information and Communication Technology/ Consulting)

บริษัทประเภทนี้จะทำงานที่เกี่ยวกับข่าวสาร และการสื่อสารตั้งแต่เริ่มต้นการสร้าง, วิเคราะห์ รับและส่งข้อมูล อีกทั้งยังมีในส่วนของการจัดเก็บและการนำไปใช้ใหม่ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะมีการทำงานผ่านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งหมด นอกจากนั้นยังให้บริการการให้คำปรึกษาด้านโลจิสติกส์ที่คำนึงถึงเรื่องของเทคโนโลยี

5. บริษัทที่ให้บริการการให้บริการพัสดุ และไปรษณียภัณฑ์ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

บริษัทที่ให้บริการการให้บริการพัสดุ และไปรษณียภัณฑ์ จะให้บริการเกี่ยวกับการขนส่ง และการจัดส่ง ทั้งในส่วนของจดหมาย, พัสดุ, หีบห่อ และสิ่งพิมพ์ นอกจากนั้นรวมถึงเรื่องของกิจกรรมทางด้าน counter services ด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เป็นประเภทของบริษัทโลจิสติกส์ ที่ให้บริการอยู่ในประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้เลยว่าบริการโลจิสติกส์ในประเทศไทยที่มีอยู่นั้นก็ถือว่าครอบคลุม และตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ทั้งนี้ก่อนใช้บริการก็ต้องเลือกบริการที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้ตามที่ต้องการ